วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556




ลักษณะภูมิประเทศของ


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานเป็นดินแดนแห่งที่ราบสูง ทุ่งหญ้า และความแห้งแล้งเพราะเป็นเขตเงาฝน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ แต่ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ที่มีความเจริญมาเป็นเวลาช้านาน ในปัจจุบันภูมิภาคนี้มีความสำคัญทางยุทธศาตร์การเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วยจังหวัดต่างๆ 19 จังหวัด โดยใช้แนวแม่น้ำชีแบ่งได้ดังนี้
1. อีสานตอนบน ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม เลย สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู
2. อีสานตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ นครราชสีมา อำนาจเจริญ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอาณาเขตที่ตั้งดังนี้ ด้านเหนือ ติดต่อกับประเทศลาวโดยมีแม่น้ำเหลืองและแม่น้ำโขงกั้นพรมแดนธรรมชาติ ด้านใต้ ติดต่อกับประเทศกัมพูชาโดยมีเทือกเขาพนมดงรักเป็นพรมแดนธรรมชาติ และติดต่อกับภาคตะวันออกโดยมีเทือกสันกำแพงเป็นแนวแบ่ง ด้านตะวันออก ติดต่อกับประเทศลาวโดยมี อ. พิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นดินแดนตะวันออกสุดของประเทศ ด้านตะวันตก ติดต่อกับภาคกลางโดยมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวแบ่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ราบสูงหรือที่ราบสูงรูปโต๊ะ ซึ่งสันนิษฐานว่าอยู่ใต้ทะเลมาก่อนแล้วยกตัวขึ้นสูง โดยมีขอบสูงทางด้านตะวันตก (เทือกเขาเพชรบูรณ์ ดงพญาเย็น) และด้านใต้ (เทือกเขาสันกำแพง พนมดงรัก) ทุ่งกุลาร้องไห้อยู่ในบริเวณตอนกลางของลุ่มแม่น้ำมูลในเขตจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ ในบริเวณนี้มีปัญหาดินแดนขาดความอุดมสมบูนณ์ ดินเค็ม ขาดแคลนน้ำในตอนต้นฤดูและน้ำท่วมตอนปลายฤดูเพราะปลูกขาดเส้นทางคมนาคม การครอบครองที่ดินยังไม่ดี ดังนั้นจึงมีแนวนโยบายแก้ไขปัญหา คืด จัดระบบถือครองที่ดิน (ปฏิรูปที่ดิน) พัฒนาแหล่งน้ำ สร้างเส้นทางคมนาคมที่สูงจากระดับน้ำท่วม

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเทือกเขาที่สำคัญดังนี้

            1.
เทือกเขาเพชรบูรณ์ อยู่ทางตะวันตกของภาค เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำป่าสัก ทอดตัวเป็นแนวผ่านจังหวัดเลย ขอนแก่น และเป็นแนวแบ่งภาคอีสานกับภาคกลาง (เพชรบูรณ์)
2. เทือกเขาดงพญาเย็น (ดงพญาไฟ) อยู่ทางตะวันตกของภาค ทอดตัวเป็นแนวต่อจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ผ่านจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และเป็นแนวแบ่งภาคอีสานกับภาคกลาง (จังหวัดเพชรณ์ ลพบุรี สระบุรี)
3. เทือกเขาสันกำแพง อยู่ทางใต้ของภาค อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา เทือกเขานี้เป็นแนวแบ่งภาคอีสานกับภาคภาคตะวันออก (จังหวัดประจีนบุรี สระแก้ว)
4. เทือกเขาพนมดงรัก อยู่ทางใต้ของภาค ทอดตัวเป็นแนวต่อจากเทือกเขาสันกำแพง โดยมีช่องตะโกเป็นแนวแบ่งผ่าน จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์
5. เทือกเขาภูพาน อยู่บริเวณตอนกลางของภาค ทอดตัวเป็นแนวจากตะวันตกเฉียงเหนือไปยังตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแนวผ่านจังหวัดอุดรราชธานี กาฬสินสินธุ์ สกลนคร นครพนม ทำให้ภูมิภาคนี้มีพื้นที่แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ แอ่งโคราช ซึ่งเป็นแอ่งใหญ่อยู่ทางใต้ของเทือกเขาภูพาน มีแม่น้ำมูล ชีไหลผ่าน เป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่นและเป็นแหล่งเขตแห้งแล้ง แอ่งสกลนครเป็นแอ่งเล็กอยู่ทางเหนอของเทือกเขาภูพาน มีแม่น้ำสงครามไหลผ่าน เป็นเขตที่มรความชุ่มชื้นและอุดมสมบูรณ์
ภูเขายอกตัดที่สำคัญของภาคอีสาน คืด ภูกระดึง ภูเรือ ภูรวก และภูหลวง อยู่ในจังหวัดเลยส่วนภูเขาไฟที่สำคัญของภาคอีสาน คือ ภูพนมรุ้ง ภูกระโดง ภูอังคาร อยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์
โครงสร้างของหินที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ หินโคราช อายุระหว่าง 70-200ล้านปี หินลำปาง ซึ่งมีลักษณะเป็นหินทราย หินดินดาน หินปูน และหินกรวด

แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่

            1.
แม่น้ำมูล ไหลอยู่แอ่งโคราช เกิดจากเทือกเขาดงพญาเย็น สันกำแพง ไหลผ่าน จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศีสะเกษ ร้อยเอ็ด ไหลลงแม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานีสาขาที่ไหลรวมกับแม่น้ำมูล คือ ลำพระเพลิง ลำตคอง ลำปลายมาศ ลำโคมใหญ่ ลำโคมน้อย
2. แม่น้ำชี แม่น้ำที่ยาวที่สุดในภาคอีสานไหลอยู่ในแอ่งโคราช เกิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์และดงพญาเย็น ไหลผ่านจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร แล้วไหลรวมกับแม่น้ำมูลที่อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สาขาที่ไหลรวกับแม่น้ำมูล คือ แม่น้ำพรม แม่น้ำพอง
3. แม่น้ำสงคราม ไหลอยู่ในแอ่งสกลนคร เกิดจาดเทือกเขาภูพาน ไหลผ่านจังหวัดสกลนคร อุดรธานี นครพนม และไหลลงแม่น้ำโขงที่จังหวัดนครพนม
4. แม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในทวีปเอเซีย เกิดจากที่ราบสูงทิเบตในประเทศจีน ไหลมาเป็นพรมแดนระหว่างไทยกับลาวอยู่ 2 ตอน คือ ตอนบนในเขตจังหวัดเชียงราย ( 95 กิโลเมตร ) และตอนล่างในเขตจังหวัดเลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจิรญ อุบลราชธานี (865 กิโลกเมตร) แม่น้ำสายนี้กว้างและมีปริมาณน้ำมาก แม่น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีระบบการไหลจากด้านตะวันตกไปด้านตะวันออกลงสู่แม่น้ำโขงเพราะพื้นที่ของภาคสูงทางด้านตะวันตกและด้านใต้แล้วลาดเอียงไปทางด้านตะวันออกของภาค

แหล่งน้ำธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนอกจากแม่น้ำสายต่างๆ แล้วยังมีบึงน้ำจืดที่เกิดจากการทรุดตัวของเปลือกโลกอีกหลายแห่ง เช่น หนองหาน (จังหวัดสกลนคร เป็นบึงน้ำจืดใหญ่ที่สุดของภาค) หนองหานกุมภวาปี (จังหวัดอุดรธานี) บึงพลาญชัย (จังหวัดร้อยเอ็ด๗ บึงแก่นคร (จังหวัดขอนแก่น) หนองบัว (จังหวัดมหาสารคาม) หนองแวง (จังหวัดชัยภูมิ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีอุณหภูมิและการระเหยสูง ดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายและหินลูกรัง ดังนั้นน้ำฝนที่ตกลงมาแม้จะมีปริมาณมากก็ซึมผ่านไปได้อย่างรวดเร็วเพราะดินไม่อุ้มน้ำไม่ก่อให้เกิดความชุ่มชื้นเพียงพอ จึงทำให้ภูมิภาคนี้เต็มไปด้วยคาวมแห้งแล้ง จึงต้องมีการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ และภูมิประเทศย่อมส่งผลต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน